กฏหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ
เพื่อรับรองสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้เสมอด้วยกระดาษ อันเป็นการรองรับนิติสัมพันธ์ต่าง ๆ ซึ่งแต่เดิมอาจจะจัดทำขึ้นในรูปแบบของหนังสือให้เท่าเทียมกับนิติสัมพันธ์รูปแบบใหม่ที่จัดทำขึ้นให้อยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ รวมตลอดทั้งการลงลายมือชื่อในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และการรับฟังพยานหลักฐานที่อยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
2. กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signatures Law)
เพื่อรับรองการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยกระบว นการใด ๆ ทางเทคโนโลยีให้เสมอด้วยการลงลายมือชื่อธรรมดา อันส่งผลต่อความเชื่อมั่นมากขึ้นในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และกำหนดให้มีการกำกับดูแลการให้บริการ เกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตลอดจนการให้บริการอื่นที่เกี่ยวข้องกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
3.กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน (National Information Infrastructure Law)
เพื่อก่อให้เกิดการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ อันได้แก่ โครงข่ายโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ สารสนเทศทรัพยากรมนุษย์ และโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศสำคัญอื่น ๆ อันเป็นปัจจัยพื้นฐาน สำคัญในการพัฒนาสังคม และชุมชนโดยอาศัยกลไกของรัฐ ซึ่งรองรับเจตนารมณ์สำคัญประการหนึ่งของแนวนโยบายพื้ นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 78 ในการกระจายสารสนเทศให้ทั่วถึง และเท่าเทียมกัน และนับเป็นกลไกสำคัญในการช่วยลดความเหลื่อมล้ำของสัง คมอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีศักยภาพในการปกครองตนเองพัฒนาเศรษฐกิจภายในชุมชน และนำไปสู่สังคมแห่งปัญญา และการเรียนรู้
4. กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Law)
เพื่อก่อให้เกิดการรับรองสิทธิและให้ความคุ้มครองข้อ มูลส่วนบุคคล ซึ่งอาจถูกประมวลผล เปิดเผยหรือเผยแพร่ถึงบุคคลจำนวนมากได้ในระยะเวลาอัน รวดเร็วโดยอาศัยพัฒนาการทางเทคโนโลยี จนอาจก่อให้เกิดการนำข้อมูลนั้นไปใช้ในทางมิชอบอันเป ็นการละเมิดต่อเจ้าของข้อมูล ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงการรักษาดุลยภาพระหว่างสิทธิขั้นพื้นฐานใ นความเป็นส่วนตัว เสรีภาพในการติดต่อสื่อสาร และความมั่นคงของรัฐ
5.กฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอ ร์ (Computer Crime Law)
เพื่อกำหนดมาตรการทางอาญาในการลงโทษผู้กระทำผิดต่อระ บบการทำงานของคอมพิวเตอร์ ระบบข้อมูล และระบบเครือข่าย ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักประกันสิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองการอยู่ร่วมกันของสังคม
6.กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Funds Transfer Law)
เพื่อกำหนดกลไกสำคัญทางกฎหมายในการรองรับระบบการโอนเ งินทางอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งที่เป็นการโอนเงินระหว่างสถาบันการเงิน และระบบการชำระเงินรูปแบบใหม่ในรูปของเงินอิเล็กทรอนิกส์ก่อให้เกิดความเชื่อมั่นต่อระบบการทำธุรกรรมทางการเงินและการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มากยิ่งขึ้น
เพื่อกำหนดกลไกสำคัญทางกฎหมายในการรองรับระบบการโอนเ งินทางอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งที่เป็นการโอนเงินระหว่างสถาบันการเงิน และระบบการชำระเงินรูปแบบใหม่ในรูปของเงินอิเล็กทรอนิกส์ก่อให้เกิดความเชื่อมั่นต่อระบบการทำธุรกรรมทางการเงินและการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มากยิ่งขึ้น
กฏหมายเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศไทย
ปัจจุบันประเทศต่างๆทั่วโลกต่างก็มีการตื่นตัวต่อการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ
เช่น ในปี คศ. 1997 ประเทศญี่ปุ่นได้ประกาศนโยบาย “ Toward the
Age of Digital Economy “ สหรัฐอเมริกาประกาศนโยบาย “ A Framework
for Global Electric Commerce “ และสหภาพยุโรปประกาศนโยบาย “
A European Initiative in Electronic Commerce” เป็นต้น นอกจากนั้นองค์การระหว่างประเทศ
เช่น องค์การการค้าโลก ( WTO ) และสหประชาชาติ ( United Nation
) ก็ให้ความสนใจจัดให้มีการประชุมเจรจาจัดทำนโยบายและรูปแบบของกฎหมายเกี่ยวกับการพานิชย์อิเล็คทรอนิกส์ไว้
ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศไทยจะต้องมีการจัดทำกฎหมายดังกล่าว
เพื่อให้เป็นโครงสร้างพื้นฐานต่อไป
กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศจึงเกิดขึ้นเนื่องจากความจำเป็นของสังคม
(Social Necessity) และเพื่อให้สังคมมีความเป็นปึกแผ่น (Solidality)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็คทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)
ในฐานะสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ
ตระหนักในปัญหาของประเทศชาติและความสำคัญของกฎหมายดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ
ในฐานะที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานทางกฎหมาย (Legal Infrastructure)
โดยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1. กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
(Data Protection Law) : เพื่อคุ้มครองสิทธิในความเป็นส่วนตัวจากการนำข้อมูลของบุคคลไปใช้ในทางมิชอบ
2.
กฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
Computer Relate Crime) :
เพื่อคุ้มครองสังคมจากความผิดที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารอันถือเป็นทรัพย์ที่
ไม่มีรูปร่าง
(Intangible Object)
3. กฎหมายพาณิชย์อิเล็คทรอนิกส์
(Electronic Commerce) : เพื่อคุ้มครองการทำธุรกรรมทางอินเทอร์เนต
4. กฎหมายการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็คทรอนิกส์
(Electronic Data Interchange : EDI ) : เพื่อที่จะเอื้อให้มีการทำนิติกรรมสัญญาทางอิเล็คทรอนิกส์ได้
5.
กฎหมายลายมือชื่ออิเล็คทรอนิกส์
(Electronic Signature Law) :
เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่คู่กรณีในอันที่จะต้องพึ่งพาเทคโนโลยีเพื่อการลง
ลายมือชื่อ
6. กฎหมายการโอนเงินทางอิเล็คทรอนิกส์
(Electronic Funds Tranfer) : เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคและสร้างหลักประกันที่มั่นคง
7. กฎหมายโทรคมนาคม (Telecommunication
Law) : เพื่อวางกลไกในการเปิดเสรีให้มีการแข่งขันที่เป็นธรรมและมีประมิทธิภาพ
ทั้งสร้างหลักประกันให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการโทรคมนาคมได้อย่างทั่วถึง
(Universal Service)
8. กฎหมายระหว่างประเทศ
องค์การระหว่างประเทศและการค้าระหว่างประเทศที่เกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
9. กฎหมายที่เกี่ยวเนื่องกับอินเทอร์เนต
10. กฎหมายพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์
ปัจจุบันได้มีกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศออกมาประกาศใช้แล้ว
1 ฉบับคือ พระราชบัญญัติธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2545
ซึ่งได้รวมเอากฎหมายพานิชย์อิเล็กทรอนิกส์และกฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เข้าไว้ด้วยกัน
โดยกฎหมายดังกล่าวและมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2545
ที่ผ่านมา
ทั้งนี้
กฎหมายดังกล่าวจะเอื้อประโยชน์อย่างมากทั้งต่อตัวผู้กระทำธุรกรรมทาง
อิเล็กทรอนิกส์และแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรม
เพราะกฎหมายดังกล่าวได้ระบุเรื่องการรับฟังพยานหลักฐานที่อยู่ในรูปของสื่อ
อิเล็กทรอนิกส์เข้าไว้ด้วย
(เดิมปรับใช้จากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง)
ประเด็นสำคัญใน
การสร้างความเชื่อมั่นของผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศก็คือ
การพัฒนากฎหมายเพื่อรองรับความก้าวหน้าของเทคโนโลยี
ซึ่งรัฐมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาถึงเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้เข้าใจใน
เบื้องต้น
และศึกษาถึงธรรมเนียมประเพณีและสังคมการพาณิชย์ของไทย
รวมทั้งปัญหาต่างๆที่มีอยู่ในปัจจุบันที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนากฎหมาย
เทคโนโลยีสารสนเทศในประเทศไทย
สภาพปัญหาใน
ปัจจุบันคือ กฎหมายไทยไม่เพียงพอที่จะให้ความคุ้มครองทางอิเล็คทรอนิกส์ ทำให้นักธุรกิจและนักลงทุนไม่มั่นใจในการทำการค้าทางอิเล็คทรอนิกส์ เพราะเหตุความไม่มีประสิทธิภาพของระบบและโครงสร้าง ความไม่มั่นใจจากการถูกรบกวนและแทรกแซงจากบุคคลภายนอกผู้ไม่หวังดี รวมถึงความหวาดกลัวต่อการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งมีมากในประเทศของเราประกอบกับผู้ใช้
งานยังมีความกังขาในข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสมบูรณ์ของนิติกรรมที่เกิดจากการ พานิชย์อิเล็คทรอนิกส์ว่าจะมีผลผูกพันเพียงใด ทั้งจะมีการยอมรับการสืบพยานในศาลได้มากน้อยเพียงใด ดังนั้น กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อระบบการทำธุรกรรมใน ประเทศไทยทั้งในปัจจุบันและในอนาคตเอาล่ะครับ
คงจะได้ทราบที่มาที่ไปของกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศรวมทั้งประโยชน์ที่จะได้รับกันไปบ้างแล้ว กฎหมายเหล่านี้ออกมาบังคับใช้เมื่อไหร่ เม็ดเงินในวงการธุรกรรมทางอิเล็คทรอนิกส์จะสะพัดกว่าปัจจุบันนี้มากนัก ใครที่ยังลังเลใจในธุรกิจ E-Commerce อดใจรออีกนิดครับ
ปัจจุบันคือ กฎหมายไทยไม่เพียงพอที่จะให้ความคุ้มครองทางอิเล็คทรอนิกส์ ทำให้นักธุรกิจและนักลงทุนไม่มั่นใจในการทำการค้าทางอิเล็คทรอนิกส์ เพราะเหตุความไม่มีประสิทธิภาพของระบบและโครงสร้าง ความไม่มั่นใจจากการถูกรบกวนและแทรกแซงจากบุคคลภายนอกผู้ไม่หวังดี รวมถึงความหวาดกลัวต่อการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งมีมากในประเทศของเราประกอบกับผู้ใช้
งานยังมีความกังขาในข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสมบูรณ์ของนิติกรรมที่เกิดจากการ พานิชย์อิเล็คทรอนิกส์ว่าจะมีผลผูกพันเพียงใด ทั้งจะมีการยอมรับการสืบพยานในศาลได้มากน้อยเพียงใด ดังนั้น กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อระบบการทำธุรกรรมใน ประเทศไทยทั้งในปัจจุบันและในอนาคตเอาล่ะครับ
คงจะได้ทราบที่มาที่ไปของกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศรวมทั้งประโยชน์ที่จะได้รับกันไปบ้างแล้ว กฎหมายเหล่านี้ออกมาบังคับใช้เมื่อไหร่ เม็ดเงินในวงการธุรกรรมทางอิเล็คทรอนิกส์จะสะพัดกว่าปัจจุบันนี้มากนัก ใครที่ยังลังเลใจในธุรกิจ E-Commerce อดใจรออีกนิดครับ
ขอบเขตคุ้มครองงานสร้างสรรค์
เมื่อสร้างสรรค์งานแล้วได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายลิขสิทธิ์ จึงต้องรับรู้สิทธิของผู้เป็นเจ้าของว่ามีขอบเขตคุ้มครองกว้างขวางมากเพียง ใด โดยกฎหมายกำหนดสิทธิไว้ดังต่อไปนี้- ทำซ้ำหรือดัดแปลง
- เผยแพร่ต่อสาธารณชน
- ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ และสิ่งบันทึกเสียง
- ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น
- อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิดังกล่าวข้างต้น โดยจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งหรือไม่ก็ได้ แต่เงื่อนไขดังกล่าวจะกำหนดในลักษณะที่เป็นการจำกัดการแข่งขันโดยไม่เป็น ธรรมไม่ได้
ลิขสิทธิ์ของลูกจ้าง
ตามหลักกฎหมายลิขสิทธิ์นั้นผู้สร้างสรรค์งานจะเป็นเจ้าของชิ้นงานทันทีที่
สร้างมัน บางกรณีอาจมีข้อสงสัยว่า ถ้าเจ้านายสั่งให้พนักงานสร้างงานขึ้น
เช่น บรรณาธิการให้ลูกน้องเขียนบทความใส่หนังสือของตนเอง
ใครจะเป็นเจ้าของงานเขียนชิ้นนั้น เป็นต้น
กฎหมายกำหนดไว้ว่า งานที่สร้างสรรค์ขึ้นในฐานะพนักงานหรือลูกจ้าง ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ให้ลิขสิทธิ์ในงานนั้นเป็นของผู้สร้างสรรค์ แต่นายจ้างมีสิทธิ์นำงานนั้นออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนได้ตามที่เป็นวัตถุ ประสงค์ของการจ้างแรงงาน ดังนั้น ถ้ามิได้ตกลงกันไว้แตกต่างจากกฎหมายและต้องทำเป็นหนังสือชัดเจน ลูกจ้างซึ่งเขียนบทความย่อมเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ แต่บรรณาธิการมีสิทธิ์นำงานเขียนนั้นไปใช้ในกิจการของตนซึ่งผู้เขียนเป็น ลูกจ้างอยู่ได้ ด้วยหลักกฎหมายลิขสิทธิ์ด้านความเป็นเจ้าของชิ้นงานของลูกจ้าง จึงทำให้นายจ้างบางคนทำข้อตกลงระหว่างตนกับลูกจ้างไว้ว่า ถ้าผลิตชิ้นงานในขณะเป็นลูกจ้าง นายจ้างจะเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ มิใช่แค่มีสิทธิ์นำงานออกเผยแพร่เท่านั้น ผู้สร้างสรรค์งานจึงต้องพิจารณาชั่งน้ำหนักระหว่างสิทธิ์ตามกฎหมายกับข้อ ตกลงระหว่างนายจ้างและลูกจ้างว่า สิ่งใดมีประโยชน์สูงสุดต่อตนหรือต่อสังคม
กฎหมายกำหนดไว้ว่า งานที่สร้างสรรค์ขึ้นในฐานะพนักงานหรือลูกจ้าง ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ให้ลิขสิทธิ์ในงานนั้นเป็นของผู้สร้างสรรค์ แต่นายจ้างมีสิทธิ์นำงานนั้นออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนได้ตามที่เป็นวัตถุ ประสงค์ของการจ้างแรงงาน ดังนั้น ถ้ามิได้ตกลงกันไว้แตกต่างจากกฎหมายและต้องทำเป็นหนังสือชัดเจน ลูกจ้างซึ่งเขียนบทความย่อมเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ แต่บรรณาธิการมีสิทธิ์นำงานเขียนนั้นไปใช้ในกิจการของตนซึ่งผู้เขียนเป็น ลูกจ้างอยู่ได้ ด้วยหลักกฎหมายลิขสิทธิ์ด้านความเป็นเจ้าของชิ้นงานของลูกจ้าง จึงทำให้นายจ้างบางคนทำข้อตกลงระหว่างตนกับลูกจ้างไว้ว่า ถ้าผลิตชิ้นงานในขณะเป็นลูกจ้าง นายจ้างจะเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ มิใช่แค่มีสิทธิ์นำงานออกเผยแพร่เท่านั้น ผู้สร้างสรรค์งานจึงต้องพิจารณาชั่งน้ำหนักระหว่างสิทธิ์ตามกฎหมายกับข้อ ตกลงระหว่างนายจ้างและลูกจ้างว่า สิ่งใดมีประโยชน์สูงสุดต่อตนหรือต่อสังคม
การละเมิดลิขสิทธิ์
กฎหมายลิขสิทธิ์กำหนดพฤติกรรมใดว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์งานของผู้อื่น ไว้ชัดเจน ได้แก่ การทำซ้ำหรือดัดแปลง เผยแพร่งานต่อสาธารณชน ซึ่งงานลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยมิได้รับอนุญาต ส่วนงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นได้เพิ่มการกระทำละเมิดอีกอย่างหนึ่งไว้ คือ การให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางาน หากผู้ใดกระทำการดังกล่าว ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ต้องรับโทษอาญาและจ่ายค่าเสียหายแก่เจ้าของงานด้วย หากผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานใดได้ทำขึ้นโดยละเมิด ลิขสิทธิ์ของผู้อื่น กระทำการต่อไปนี้แก่งานนั้นเพื่อหากำไร ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย ได้แก่
- ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย ให้เช่า เสนอให้เช่า ให้เช่าซื้อ หรือเสนอให้เช่าซื้อ
- เผยแพร่ต่อสาธารณชน
- แจกจ่ายในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์
- นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร
การผลิตงานเผยแพร่จึงต้องระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะเมื่อมีการแจ้งเตือนให้พิจารณาว่าละเมิดงานลิขสิทธิ์ ต้องรีบตรวจสอบทันทีและงดเผยแพร่งานเพื่อมิให้ต้องรับโทษอาญาร่วมกับนักคัด ลอกด้วย แต่สำนักพิมพ์มิได้เสียสิทธิในการเรียกค่าเสียหายจากนักคัดลอกที่สร้างความ เสียหายแก่องค์กรของตน หากมีการเรียกร้องค่าเสียหายจากนักคัดลอกเหล่านั้นจะเป็นการปรามนักคัดลอก รุ่นต่อไปมิให้ยึดเป็นเยี่ยงอย่างด้วยและลดความเสียหายของตนลงได้
โทษการละเมิดลิขสิทธิ์
กฎหมายคุ้มครองงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้สร้างสรรค์ แล้วกำหนดโทษหนักแก่ผู้ทำละเมิดไว้ชัดเจน การละเมิดต่องานของผู้สร้างสรรค์ทั้งทำซ้ำ ดัดแปลงงาน เผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยไม่ได้รับความยินยอมตามกฎหมาย ต้องมีโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หากพฤติกรรมทำละเมิดดังกล่าวเพื่อการค้า ผู้กระทำจะมีโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสี่ปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงแปดแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ตัวอย่างเช่น นักลอกนำนิยายของนักเขียนอื่นมาดัดแปลงแล้วอ้างเป็นงานของตนเพื่อจัดพิมพ์ เป็นเล่มขายในท้องตลาด จักเห็นว่านักลอกจงใจทำละเมิดงานอันมีลิขสิทธิ์เพื่อเจตนาทางการค้า คือ พิมพ์งานเป็นเล่มออกขายในตลาด เป็นต้น
หากสำนักพิมพ์นำงานอันมีลิขสิทธิ์ที่ถูกละเมิดโดยนักลอกดังกล่าวไปจำหน่าย ทั้งที่รู้ว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น จักต้องรับโทษจำคุกสามเดือนถึงสองปี หรือโทษปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงสี่แสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับด้วย ผู้ทำละเมิดลิขสิทธิ์ต้องรับโทษอาญาแล้ว
ผู้นำงานอันละเมิดดังกล่าวไปหาประโยชน์ทางการค้าจักรับโทษอาญาในส่วนความผิด ของตนอีกด้วย ถ้าเคยโดนลงโทษฐานความผิดละเมิดลิขสิทธิ์มาแล้ว ยังกระทำความผิดเดียวกันนี้อีกภายในห้าปี เขาจะถูกลงโทษหนักเป็นสองเท่าของโทษที่พิจารณาคดีในเวลานั้นฐานไม่เข็ดหลาบ อีกด้วย การละเมิดลิขสิทธิ์เป็นเรื่องต้องห้ามและควรหลีกเลี่ยงอย่างยิ่ง เพราะต้องรับโทษอาญา รับความอับอายต่อสาธารณชนในการประจานตัวเอง ต้องจ่ายค่าเสียหายจำนวนสูงซึ่งอาจมากกว่ารายได้ซึ่งเคยรับเงินไว้ก็ได้ นักลอกและสำนักพิมพ์ต้องเสียชื่อเสียงซึ่งมิอาจประเมินค่าเป็นเงิน โดยเฉพาะขาดความเชื่อถือต่ออนาคตของการทำงานหรือสถานะทางสังคมไป ดังนั้น การสร้างสรรค์งานใหม่ด้วยฝีมือของตัวเอง นอกจากเป็นความภูมิใจส่วนตัวแล้ว ยังสร้างรายได้ เกียรติภูมิ ให้ตนเองและครอบครัว มากกว่าการเป็นนักคัดลอกดัดแปลงแอบอ้างอย่างแน่นอน
เวลาคุ้มครองงาน
ทางนี้กฎหมายคุ้มครองสิทธิและประโยชน์ของผู้สร้างสรรค์งานโดยมีบทลงโทษเข้ม
งวดแล้ว ยังกำหนดระยะเวลาไว้ด้วย โดยให้คุ้มครองตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์
และมีอยู่ต่อไปอีกห้าสิบปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย
ซึ่งทายาทของผู้สร้างสรรค์จักหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์นี้ได้ในช่วง
นั้น เมื่อพ้นห้าสิบปีแล้ว
งานชิ้นนี้จะตกเป็นสมบัติของแผ่นดินซึ่งรัฐจะเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ต่างๆ
รวมทั้งดูแลมิให้เกิดการดัดแปลงงานดังกล่าวไปเกินขอบเขตอันควรหรือเป็นการ
ทำลายงานชิ้นนั้น
คนไทยสามารถนำไปตีพิมพ์ เผยแพร่งานต่อสาธารณชนได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์แก่ทายาทผู้สร้างสรรค์ อีกต่อไปอันถือเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน ตัวอย่างเช่น นายนพเขียนนิยายเรื่องหนึ่ง กฎหมายจะคุ้มครองนายนพในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์นิยายเรื่องดังกล่าวตลอดอายุ ของเขา ห้ามผู้ใดทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณชน
โดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายนพก่อน หลังจากนายนพตายแล้ว ทายาทของเขาเป็นผู้รับมรดกนิยายเรื่องนี้ต่อไปอีกห้าสิบปีในการหาประโยชน์ หรือดูแลมิให้เกิดการละเมิดงานชิ้นนี้ หากพ้นห้าสิบปีไปแล้วงานชิ้นนี้จะไปอยู่ในความดูแลของรัฐในฐานะสมบัติของ แผ่นดินซึ่งคนไทยสามารถนำไปตีพิมพ์เผยแพร่ซ้ำได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ หรือจ่ายด้วยอัตราน้อยซึ่งแล้วแต่กติกาของรัฐ ณ เวลานั้น เป็นต้น
คนไทยสามารถนำไปตีพิมพ์ เผยแพร่งานต่อสาธารณชนได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์แก่ทายาทผู้สร้างสรรค์ อีกต่อไปอันถือเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน ตัวอย่างเช่น นายนพเขียนนิยายเรื่องหนึ่ง กฎหมายจะคุ้มครองนายนพในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์นิยายเรื่องดังกล่าวตลอดอายุ ของเขา ห้ามผู้ใดทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณชน
โดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายนพก่อน หลังจากนายนพตายแล้ว ทายาทของเขาเป็นผู้รับมรดกนิยายเรื่องนี้ต่อไปอีกห้าสิบปีในการหาประโยชน์ หรือดูแลมิให้เกิดการละเมิดงานชิ้นนี้ หากพ้นห้าสิบปีไปแล้วงานชิ้นนี้จะไปอยู่ในความดูแลของรัฐในฐานะสมบัติของ แผ่นดินซึ่งคนไทยสามารถนำไปตีพิมพ์เผยแพร่ซ้ำได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ หรือจ่ายด้วยอัตราน้อยซึ่งแล้วแต่กติกาของรัฐ ณ เวลานั้น เป็นต้น
แหล่งอ้างอิง